โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

พปชร.ซัด มาตรการแก้ฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล ยังไม่ถึงแก่น เสนอภาษีฝุ่นพิษ จัดหอคอยฟอกอากาศ – คุมเข้มยานพาหนะ จี้ รัฐบาลแก้ปัญหาให้จริงจัง อย่าปล่อยให้กระทบสุขภาพของ ปชช.

พปชร.ซัด มาตรการแก้ฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล ยังไม่ถึงแก่น เสนอภาษีฝุ่นพิษ จัดหอคอยฟอกอากาศ – คุมเข้มยานพาหนะ จี้ รัฐบาลแก้ปัญหาให้จริงจัง อย่าปล่อยให้กระทบสุขภาพของ ปชช.

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568  เวลา 11.10 นาฬิกา ณ ห้องวันนี้(5 ก.พ.)เวลา 11.00 น.ที่อาคารรัฐสภา พรรคพลังประชารัฐ นำโดย นายชัยมงคล ไชยรบ รองหัวหน้าพรรค และ สส.สกลนคร เขต 5 ,นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ รองหัวหน้าพรรค และ สส.พังงา เขต 2 นายสุธรรม จริตงาม สส.นครศรีธรรมราช , นายคอซีย์ มามุ สส. ปัตตานี เขต 2 , นายวิริยะ ทองผา สส.มุกดาหาร เขต 1, นายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต 1 ,นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานกรรมการด้านวิชาการ,ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ที่ปรึกษาศูนย์นโยบายและวิชาการ,พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรค พปชร.ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการลดมลพิษและปัญหาฝุ่น PM 2.5

โดยนายฉกาจ กล่าวว่า ฝุ่น PM 2.5 สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลควรเร่งแก้ไฃปัญหาอย่างเร่งด่วน และดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรมและเข้มงวดให้มากขึ้น ตามที่รัฐบาลได้เคยกล่าวไว้กับประชาชนในช่วงรณรงค์หาเสียงว่า จะแก้ปัญหามลพิษของประเทศไทย และถูกบรรจุเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่วันนี้พื้นที่ กทม.นั้นประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5 จนกระทบต่อปัญหาสุขภาพของพี่น้องประชาชนในระยะยาว แต่รัฐบาลกลับไม่สนใจที่จะแก้ไข

“ผมไม่เข้าใจว่ารัฐบาลนี้ต้องการอะไร การท่องเที่ยวและหารายได้จากการพนันแต่ปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวของ 7,000,000 ล้าน บาทกระทบนักท่องเที่ยวเห็นได้จากที่ดอนเมืองไม่สามารถลงได้แต่ละรัฐบาลมีเพื่อนเป็นคนติดแทนที่จะมุ่งไปแก้ปัญหาฝุ่นที่คุณมองบ้างที่ประชาชนจะต้องไปผ่อนตรง ประชารัฐขอนำเอกชนไปยังกระทงให้รัฐรัฐบาลโดยทวีไปดำเนินการแก้ไขเป็นปัญา”

ด้านนายธีระชัย กล่าวว่า การแก้ปัญหาฝุ่นพิษจะต้องแก้ครบวงจร ในด้านปลายน้ำ รัฐบาลควรสร้างหอคอยยักษ์ฟอกอากาศในทุกเมืองใหญ่ ตามที่ประเทศจีนได้เคยดำเนินการ ต้นทุนไม่ถึงหนึ่งร้อยล้านบาท และล่าสุด มีการค้นคว้าที่ประเทศเนเธอร์แลนด์

ในด้านต้นน้ำ รัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาการเผาเศษพืชในการปลูกข้าวโพด อ้อยและข้าว ซึ่งภาพถ่ายดาวเทียม  แต่ละปีมีจุดเผาในประเทศเพื่อนบ้านเกิดขึ้นมากกว่า 8 แสนจุด และเกิดขึ้นในไทยมากกว่า 2 แสนจุด

“วิธีแก้ปัญหาให้ได้ผลจริงจะต้องใช้มาตรการด้านการคลัง ให้ผู้นำเข้าและผู้ผลิตอาหารสัตว์และน้ำตาลต้องจ่ายภาษีฝุ่นพิษในอัตราสูงสุดถึง 100% ยกเว้นกรณีที่มีบริษัทเซอเวเยอร์รับรองว่าแปลงนั้นไม่มีการเผาในรอบ 12 เดือนก่อนหน้า โดยกระทรวงเกษตรกำหนดมาตรฐานขึ้นทะเบียนบริษัทเซอเวเยอร์ รวมทั้งให้ผู้ส่งออกข้าวต้องจ่ายภาษี 5% โดยเมื่อครบปีรัฐบาลคืนภาษีให้ อบต.และอบจ.ตามสัดส่วนการผลิตข้าว ยกเว้นแหล่งทีุ่มีการเผา

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีต้องเป็นประธานดังกล่าว รวมทั้งต้องจัดหารถตัดอ้อยชุมชน บังคับการเว้นระยะปลูกอ้อยเพื่อให้รถเข้าถึงได้ข้ามทุกแปลง รวมทั้งเครื่องมืออัดฟางข้าวชุมชน“นายธีระชัย กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 05 กุมภาพันธ์ 2568

" ,