“ศ.ดร.นฤมล-สกลธี”นำ 33 ผู้สมัคร ส.ส.กทม.สักการะศาลหลักเมืองเอาฤกษ์เอาชัย
ประกาศ ขอ ส.ส.กทม.มากกว่า 12 ที่นั่ง พร้อมเดินหน้ารณรงค์หาเสียงเต็มสูบ
3 เมษายน 2566 เวลา 12.00 น. ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้ดูแลกำกับการเลือกตั้งพื้นที่ กทม.และนายสกลธี ภัททิยกุล หัวหน้าทีมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.นํากลุ่มผู้สมัคร ส.ส.กทม.ของพรรค พปชร. ทั้ง 33 เขต ได้แก่ เดินทางออกจากอาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เพื่อมาสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองหลวง เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย ภายหลังไปสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.มาในช่วงเช้า
ศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐขอจำนวน ส.ส.ในพื้นที่ กทม.ให้ได้มากกว่า 12 เขต ซึ่งมองว่าทุกพรรคการเมืองก็คงมาขอพรที่นี่เช่นกัน แต่สำหรับพรรคพลังประชารัฐ เราจะเอาความตั้งใจที่จะทำงานให้พี่น้องประชาชนมาสู้ในการเลือกตั้งครั้งนี้
โดยนายสกลธี กล่าวว่า เหมือนเป็นธรรมเนียมว่าพอสมัครเสร็จก็จะพาผู้สมัครมาสักการะศาลหลักเมือง เพื่อให้มาเอาฤกษ์เอาชัย จริงๆก็มีหลายที่ แต่วันนี้ขอมาเป็นที่เดียวก่อน สำหรับบรรยากาศการจับเบอร์วันนี้ ภาพรวมก็พอใจ มีพรรคการเมืองค่อนข้างเยอะ อาจจะล่าช้าไปบ้าง เพราะมีพรรคการเมืองจำนวนมาก
สำหรับ เบอร์ของผู้สมัคร พปชร. ภายหลังจากเข้าสู่กระบวนการเข้ารับสมัครและจับหมายเลขผู้สมัครทั้ง 33 เขตเสร็จสิ้นแล้ว ผลปรากฎดังนี้
เขต 1 พระนคร สัมพันธวงศ์ ดุสิต บางรัก นายสฤษดิ์ ไพรทอง ได้หมายเลข 11
เขต 2 สาทร ราชเทวี ปทุมวัน นายพณิชย์ วิทยาภัทร์ ได้หมายเลข 11
เขต 3 บางคอแหลม ยานนาวา น.ส.ชญาภา ธารดำรงค์ ได้หมายเลข 15
เขต 4 คลองเตย วัฒนา นายภูวกร ปรางภรพิทักษ์ ได้หมายเลข 8
เขต 5 ห้วยขวาง วังทองหลาง นายกานต์ กิตติอำพน ได้หมายเลข 4
เขต 6 ดินแดง พญาไท ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร ได้หมายเลข 10
เขต 7 บางซื่อ ดุสิต ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ อำนรรฆสรเดช ได้หมายเลข 12
• เขต 8 จตุจักร หลักสี่ นายรังสรรค์ กียปัจจ์ ได้หมายเลข 7
เขต 9 บางเขน จตุจักร หลักสี่ นายปราโมทย์ เพ็ชรฤทธิ์ ได้หมายเลข 8
เขต 10 ดอนเมือง ภญ.สุชาดา เวสารัชตระกูล ได้หมายเลข 3
เขต 11 สายไหม น.อ. บัญชาพล อรัณยะนาค ได้หมายเลข 7
เขต 12 บางเขน สายไหม ลาดพร้าว ภญ.นพวรรณ หัวใจมั่น ได้หมายเลข 12
เขต 13 ลาดพร้าว วังทองหลาง นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ ได้หมายเลข 8
เขต 14 บางกะปิ วังทองหลาง น.ส. นฤมล รัตนาภูบาล ได้หมายเลข 5
เขต 15 คันนายาว บึงกุ่ม น.ส.ณิรินทร์ เงินยวง ได้หมายเลข 8
เขต 16 คลองสามวา นายกิติภูมิ นีละไพจิตร์ ได้หมายเลข 12
เขต 17 หนองจอก คลองสามวา นายศิริพงษ์ รัสมี ได้หมายเลข 10
เขต 18 หนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง นายพีระพงษ์ รัสมี ได้หมายเลข 4
เขต 19 มีนบุรี สะพานสูง นางนาถยา แดงบุหงา ได้หมายเลข 10
เขต 20 ลาดกระบัง นายบุญรุ่ง เต๋งจงดี ได้หมายเลข 1
เขต 21 ประเวศ สะพานสูง น.ส.แพรว กิจสุวรรณ ได้หมายเลข 2
เขต 22 สวนหลวง ประเวศ นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ ได้หมายเลข 1
เขต 23 พระโขนง บางนา นายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ ได้หมายเลข 5
เขต 24 คลองสาน ธนบุรี ราษฎรบูรณะ นายศันสนะ สุริยะโยธิน ได้หมายเลข 1
เขต 25 ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ นายระพีพัฒน์ สุเมธโชติเมธา ได้หมายเลข 2
เขต 26 จอมทอง บางขุนเทียน นายอนุชาญ กวางทอง ได้หมายเลข 3
เขต 27 บางบอน บางขุนเทียน นายสาโรจน์ ซึ้งไพศาลกุล ได้หมายเลข 12
เขต 28 หนองแขม บางบอน จอมทอง นายมานพ มารุ่งเรือง ได้หมายเลข 1
เขต 29 บางแค หนองแขม นายเอกชัย ผ่องจิตร์ ได้หมายเลข 7
เขต 30 บางแค ภาษีเจริญ นายสิทธิโชค คล้อยแสงอาทิตย์ ได้หมายเลข 11
เขต 31 ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน น.ต.นิธิ บุญยรัตกลิน ได้หมายเลข 1
เขต 32 บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ ตลิ่งชัน ธนบุรี น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ได้หมายเลข 6
เขต 33 เขตบางพลัด บางกอกน้อย นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล ได้หมายเลข 15
ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 3 เมษายน 2566