โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

หมวดหมู่: กิจกรรม ส.ส. และสมาชิก

“สส.อนันต์”ถามแทนชาวกำแพงเพชร เมื่อไหร่จะได้งบซ่อม “สะพานศรีมงคลวชิรานุสรณ์“ที่ขาดมากว่า 15 เดือน ปชช.เดือดร้อนหนัก

,

“สส.อนันต์”ถามแทนชาวกำแพงเพชร เมื่อไหร่จะได้งบซ่อม “สะพานศรีมงคลวชิรานุสรณ์“ที่ขาดมากว่า 15 เดือน ปชช.เดือดร้อนหนัก

นายอนันต์ ผลอำนวย สส.กำแพงเพชร เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า สะพานศรีมงคลวชิรานุสรณ์ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิง เชื่อมโยงระหว่างตำบลวังแขม และตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นในเดือน เม.ย 2566 เราพบรอยร้าวที่สะพานก็เกรงว่า สะพานจะชำรุดและทรุดตัวลง ชาวบ้านส่วนหนึ่งก็ได้มาร้องเรียนที่ตนและนายอำเภอ จึงแจ้งไปยังทางหลวงชนบท ด้านทางหลวงชนบทก็กลับมาดูพื้นที่แล้วเร่งไปออกแบบเพื่อจะซ่อมแซมสะพานในส่วนที่ชำรุด

นายอนันต์ กล่าวต่อว่า ปรากฏว่าผ่านไปจนกระทั่งเดือน ต.ค. 2566 การก่อสร้าง การซ่อมแซมก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข จนล่าสุดเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องกันหลายวันในจังหวัดกำแพงเพชร ทำให้สะพานที่เกิดรอยร้าวอยู่นั้น เกิดทรุดตัวลง จนขาดโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถใช้งานติดต่อได้จำเป็นต้องปิดสะพาน ซึ่งขาด 2 ช่วง เป็นจำนวน 60 เมตร เราก็แจ้งให้มางหลวงชนบท กำแพงเพชร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้กลับมาดูแล แล้วเร่งออกแบบใหม่ เนื่องจากกระทบกับประชาชนจำนวนมาก

นายอนันต์ ยังกล่าวต่อว่า ผ่านไปจนกระทั่งเดือน พ.ย. 2566 สะพานได้ทรุดตัวเพิ่มลงอีก เกิดความเสียหายอย่างหนัก เราก็แจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด และแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เข้ามาเร่งแก้ไขดำเนินการในเรื่องนี้ ปรากฏว่าเหตุการณ์ทั้งหมดชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ผ่านไป 15 เดือน คือ 1 ปีกับ 3 เดือน วันนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข เกิดผลกระทบกับนักเรียนที่จำเป็นต้องมาเรียนหนังสือมัธยมแห่งเดียวของกำแพงเพชร และกระทบกับเกษตรกรที่ต้องขนส่งสินค้าทางการเกษตร รวมถึงกระทบกับคนที่ทำมาหากินระหว่างตำบลแม่ลาด และตำบลวังแขมที่ต้องข้ามไปข้ามมา

“ผมอยากจะถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า เมื่อไหร่จะได้งบประมาณเข้าไปซ่อมแซมสะพานแห่งนี้ 15 เดือนของคนในชนบทเป็น 15 เดือนแห่งความทุกข์ทรมานเป็น 15 เดือนของความยากลำบาก แล้วยังไม่มีความหวังและอนาคตในวันข้างหน้า ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัดซ่อมแซมสะพานศรีมงคลวชิรานุสรณ์ หรือสะพานวังแขม โดยเร่งด่วนให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้”นายอนันต์ กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 กรกฎาคม 2567

“สส.อัคร”ขอ กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบซ่อมแซมดูแลถนน 3 เส้นหลัก ปชช.เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จนได้รับบาดเจ็บหนัก

,

“สส.อัคร”ขอ กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบซ่อมแซมดูแลถนน 3 เส้นหลัก ปชช.เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จนได้รับบาดเจ็บหนัก

นายอัคร ทองใจสด สส.เพชรบูรณ์ เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาถนนชำรุดในพื้นที่ เส้นที่ 1 คือ ถนนบ้านสระกรวด หมู่ 1 ถึงบ้านวังขาม หมู่ที่ 3 ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ถนนเส้นสายนี้เป็นถนนสายหลักของตำบลสระกรวด และชาววังขาม มีทางที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

เส้นที่ 2 คือถนนสายท่าโรง บึงกระจับ ระยะทาง 3 กิโลเมตร โดยบึงกระจับเป็นตำบลปิดมีเส้นทางหลักในการเข้าสู่ตำบลเพียงไม่กี่เส้นทาง ซึ่งท่าโรง บึงกระจับนี้ถือว่า เป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมระหว่าง 2 ตำบล แต่สภาพถนนสายนี้เป็นหลุมกว้าง บ่อก็ขนาดใหญ่ ทำให้เกิดความเสียหายทางด้านทรัพย์สินและร่างกาย หรือเกิดอันตรายต่อผู้คนที่สัญจรไปมาเป็นอย่างมาก

เส้นที่ 3 คือถนนสระประดู่ โคกหนองแจง อ.วิเชียรบุรีถนนสายนี้เป็นหลุมเป็นบ่อมานาน และที่สำคัญในบริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการอาชีพวิเชียรบุรีและชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านโคกหนองแจง หรือท่าจรวด ต่างได้รับความเดือดร้อนจากถนนเส้นนี้เป็นอย่างมาก มอเตอร์ไซค์เสียหาย บางท่านก็เกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหนัก จึงขอให้กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยจัดสรรงบประมาณดูแล 3 เส้นนี้อย่างเร่งด่วน

“จากการที่ได้หารือเมื่อครั้งที่แล้ว ผมขอขอบคุณกรมทางหลวง แขวงทางหลวงเพชรบูรณ์ เขตที่ 2 ที่ได้จบปัญหาของถนนเส้น 2275 บ้านคลองม่วง ถึงบ้านนาสนุ่น ที่เป็นหลุมเป็นบ่อมานาน วันนี้ได้รับการซ่อมแซมแล้ว”นายอัคร กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 กรกฎาคม 2567

“สส.องอาจ”จี้ แก้ปัญหาน้ำประปาขุ่น ส่งกลิ่นเหม็น หมู่ 3 ต.ตลาดน้อย หลังชาวบ้านทนทุกข์มาแรมปี พร้อม เร่ง กรมทางหลวง แก้ไฟฟ้าถนนทางหลวง 3048

,

“สส.องอาจ”จี้ แก้ปัญหาน้ำประปาขุ่น ส่งกลิ่นเหม็น หมู่ 3 ต.ตลาดน้อย หลังชาวบ้านทนทุกข์มาแรมปี พร้อม เร่ง กรมทางหลวง แก้ไฟฟ้าถนนทางหลวง 3048

นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนทั้งหมู่บ้านส่งรายชื่อมาเป็นร้อย โดยตนจะมอบให้กับท่านประธานสภาฯซึ่งร้องเรียนผ่านมายัง นายวิเชียร บุญสืบวงษ์ สจ.เขตอำเภอบ้านหมอ ถึงปัญหาความเดือดร้อนน้ำประปาไม่สะอาดเป็นอย่างยิ่ง ในพื้นที่บริเวณสะพาน 27 หมู่ที่ 3 ตำบลตลาดน้อย เชื่อมกับหมู่ 9 ตำบลสร่างโศก โดยน้ำประปาทั้งขุ่น ทั้งส่งกลิ่นเหม็น ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ ชาวบ้านต้องทนทุกข์ทรมานเดือดร้อนมาเป็นแรมปี จึงขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบเรื่องนี้ได้ช่วยดำเนินการดูแลแก้ไขให้น้ำประปาสะอาดใสด้วย นอกจากนี้อีกปัญหาหนึ่งก็คือ ไฟฟ้าสาธารณะบนถนนในหมู่บ้านก็ติดๆดับๆตลอดสาย

นายองอาจ กล่าวต่อว่า ปัญหาไฟฟ้าดับมานาน และไม่ได้รับการแก้ไขบริเวณ ทางหลวง 3048 เส้นทางห้วยบงท่าลาน ตั้งแต่วัดโพธิ์ถึงโคกกระท้อน มีเสาไฟตลอดเส้นทาง แต่ไฟฟ้าดับมืดสนิทตลอดทาง ซึ่งถนนสายนี้เป็นถนนสายหลัก เป็นถนนสายใหญ่ครับ 5-6 เลน รถวิ่งด้วยความเร็วสูง ผ่านเขตชุมชน เกิดอุบัติเหตุบ่อยทุกอาทิตย์ อันตรายมาก ในยามค่ำคืน ขอให้กรมทางหลวงช่วยดูแลเร่งรัด แก้ไขปัญหานี้โดยด่วน เพราะประชาชนบริเวณนี้ร้องเรียนมานานหลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการดูแลและแก้ไข เชื่อว่า กรมทางหลวงทราบปัญหาดี รู้แต่ไม่ทำ หรือทำเป็นไม่รู้ก็ไม่ทราบ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 24 กรกฎาคม 2567

“สส.อามินทร์“จับมือ ผู้ว่าฯ นราธิวาส ร่วมกิจกรรมเก็บขยะชายหาดเสด็จ เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบในหลวง พร้อมสร้างจิตสำนึกให้ ปชช.รักษาทะเลให้คงอยู่ยั่งยืนไปสู่ลูกหลาน

,

“สส.อามินทร์“จับมือ ผู้ว่าฯ นราธิวาส ร่วมกิจกรรมเก็บขยะชายหาดเสด็จ เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบในหลวง พร้อมสร้างจิตสำนึกให้ ปชช.รักษาทะเลให้คงอยู่ยั่งยืนไปสู่ลูกหลาน

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวว่า ตนได้ร่วมกับ ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดนราธิวาส และ นายซันตารา นูซันตารา นายกเทศมนตรีเมืองตากใบ เข้าร่วมกิจกรรมเก็บขยะชายหาด 22 จังหวัดชายทะเล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณชายหาดเสด็จ บ้านตาบา ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยมีจิตอาสา 904 จิตอาสาพระราชทาน นักเรียน และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมด้วย

นายอามินทร์ กล่าวต่อว่า กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ถวายเป็นพระราชกุศล ตลอดจนเพื่อให้ทุกภาคส่วนสร้างจิตสำนึกของทุกคนให้ร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาผืนป่า รักษาทะเล ให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ ยั่งยืนไปสู่ลูกหลานในอนาคต เพราะทุกวันนี้ ปัญหาขยะในชายทะเลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงระบบเศรษฐกิจของการท่องเที่ยว ระบบเศรษฐกิจภาคทะเล และสิ่งแวดล้อมของประเทศ

”เราต้องการส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันดูแลและรักษาชายหาดให้สะอาดปราศจากขยะ ช่วยลดการสูญเสียสัตว์ทะเลหายาก ตลอดจน เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดใช้ถุงพลาสติกและโฟม ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก“นายอามินทร์ กล่าว

ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมว่า เป็นเรื่องที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยตรง โดยเฉพาะการปนเปื้อนทางอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันเกิดจากการทิ้งขยะพลาสติกตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ซึ่งเมื่อมีฝนตก จะถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำลำคลอง และลงสู่ทะเล เกิดปัญหาอนุภาคของไมโครพลาสติกปนเปื้อนในปลาทะเล ซึ่งเมื่อเรานำมาบริโภคเป็นอาหารก็จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ จึงขอให้ทุกคนงดทิ้งขยะในในพื้นที่สาธารณะ และช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ต้องสะอาด และมีความสวยงามตลอดเวลา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 กรกฎาคม 2567

“สส.รัชนี”วอน รัฐเตรียมความพร้อมหลัง’อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ’แตกหลังฝนถล่ม พร้อม ขอบคุณ“รมว.ธรรมนัส”อนุมัติงบปี 68 ก่อสร้างอาคารระบายน้ำกั้นลำน้ำยัง

,

“สส.รัชนี”วอน รัฐเตรียมความพร้อมหลัง’อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ’แตกหลังฝนถล่ม พร้อม ขอบคุณ“รมว.ธรรมนัส”อนุมัติงบปี 68 ก่อสร้างอาคารระบายน้ำกั้นลำน้ำยัง

นางรัชนี พลซื่อ สส.ร้อยเอ็ด เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงความรุนแรงของมรสุมที่พัดเข้าอีสานตอนบน พื้นที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ และเกิดน้ำท่วมไร่นาของเกษตรกรเสียหาย โดยเฉพาะพื้นที่ ๆ อยู่ใกล้ลำน้ำต่างๆ เมื่อวานนี้อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ถูกกระแสน้ำพัดขาด ทำให้น้ำไหลทะลักลงลำเสียวใหญ่ ท่วมไร่นาของเกษตรกรบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ติดกับลำน้ำเสียวใหญ่เกิดความเสียหาย ขณะนี้ปริมาณน้ำในลำน้ำชีก็สูงขึ้นเรื่อยๆบางจุดก็ล้นออกมาท่วมไร่นาเกษตรกรแล้ว

นางรัชนี กล่าวต่อว่า ในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 3 ของตน มีลำน้ำยังไหลเข้าสู่อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้รับแจ้งจากเกษตรกรที่อยู่ติดลำน้ำยัง ว่าขณะนี้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังมีปัญหาประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปีในฤดูฝนที่ผ่านมาได้ โดยเกิดน้ำท่วมบ้านเรือนไร่นาเกษตรกรที่อยู่ริมฝั่งน้ำยัง ถนนถูกน้ำท่วมหลายสาย ซึ่ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำคณะจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน จนได้รับคำชื่นชมและคำขอบคุณจากพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยในจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจำนวนมาก

“ดิฉันขอฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในปีนี้ โดยตรวจสอบความแข็งแรงของเขื่อนและฝายต่างๆรวมทั้งตรวจตราร่องน้ำในลำน้ำ เพื่อเปิดทางให้ระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ เตรียมเครื่องมือ เครื่องจักรเสริมพลังดินให้แน่นหนาคงทน เสริมถนนให้สูงกว่าระดับน้ำ“นางรัชนี กล่าว

นางรัชนี กล่าวต่อว่า ขอให้มีการบูรณาการความร่วมมือเตรียมความพร้อมระวัง เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมกระสอบทราย เพื่อกั้นน้ำชั่วคราว เตรียมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือในการระบายน้ำ และเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ทั้งนี้การแก้ปัญหาในระยะยาวที่ยั่งยืน จะต้องเร่งรัดให้กรมชลประทานดำเนินการตามแผนเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมยั่งยืน ซึ่ง ร.อ.ธรรมนัส ได้อนุมัติงบประมาณปี 68 ให้กรมชลประทานก่อสร้างอาคารระบายน้ำ กั้นลำน้ำยัง จุดบ้านกุดกวง ตำบลวังสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยงบประมาณ 650 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในงบประมาณเล่มขาวคาดแดงแล้ว หากก่อสร้างอาคารจุดนี้จะแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้ด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 กรกฎาคม 2567

“สส.คอซีย์”จัดแข่งขันฟุตซอล KORSEE CUP หนุน ปชช.ออกกำลังกาย ห่างไกลจากยาเสพติด พร้อมพร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพทางด้านกีฬา

,

“สส.คอซีย์”จัดแข่งขันฟุตซอล KORSEE CUP หนุน ปชช.ออกกำลังกาย ห่างไกลจากยาเสพติด พร้อมพร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพทางด้านกีฬา

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยส่วนราชการท้องที่ ท้องถิ่น กลุ่มเพื่อน สส.คอซีย์ ได้จัดการแข่งขันฟุตซอล KORSEE CUP ครั้งที่ 1 ณ สนามฟุตซอลสวนสาธารณะพรุจงเปือย บ้านยางแดง ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี โดยมีนางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี มาเป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างสัมพันธไมตรีและบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน และส่งเสริมสุขภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรภาครัฐและเอกชน

“การจัดแข่งขันในครั้งนี้จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.- ถึง 17 ส.ค. 2567 โดยจะจัดเฉพาะศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ผมต้องการสนับสนุนการออกกำลังกายและห่างไกลจากยาเสพติด ควบคู่การตื่นตัวกับการส่งเสริมให้ชาวปัตตานีมีสุขภาพอนามัยที่ดีจากการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งพัฒนาทักษะและศักยภาพทางด้านกีฬาที่ชื่นชอบด้วย“

ด้านนางพาตีเมาะ ได้กล่าวชื่นชมกลุ่มเพื่อน สส.คอซีย์ มามุ และหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น รวมถึงนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน ที่ได้จัดให้มีการแข่งขันฟุตซอล“กลุ่มเพื่อน สส.คอซีย์ คัพ ”ขึ้น ถือเป็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการเสริมสร้างศักยภาพการกีฬา ในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ โดยส่งเสริมการออกกำลังกาย และกีฬาขั้นพื้นฐานให้กลายเป็นวิถีชีวิตการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ การส่งเสริมการกีฬาเพื่อพัฒนาสู่ระดับอาชีพ และการพัฒนาบุคลากรด้านกีฬาและนันทนาการ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมกีฬา

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 กรกฎาคม 2567

“สส.บุญชัย”ลุย น้ำท่วมหล่มเก่า เร่งช่วยเหลือหลังน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน ปชช.เดือดร้อนหนัก เตรียม ประสานขอความช่วยเหลือซ่อมแซมถนนที่พัง เสียหาย

,

“สส.บุญชัย”ลุย น้ำท่วมหล่มเก่า เร่งช่วยเหลือหลังน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน ปชช.เดือดร้อนหนัก เตรียม ประสานขอความช่วยเหลือซ่อมแซมถนนที่พัง เสียหาย

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ช่วงนี้มีฝนตกหนักต่อเนื่องมา 2-3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ของอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก และอำเภอเขาค้อ จนพี่น้องประชาชนที่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง อย่างเช่น พื้นที่บ้านศิลาหมู่ 6และ 15 ที่คลองห้วยน้ำขุ่น มีปริมาณน้ำฝนที่ตกบนบ้านซำบุน ต.ศิลา ปริมาณมากได้ไหลหลากลงมาผ่านหมู่บ้านศิลา ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และไหลท่วมทะลักเข้าบ้านเรือนประชาชน ได้รับความเสียหายทั้งที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องอุปโภคบริโภค

นายบุญชัย กล่าวต่อว่า ตนจึงได้ประสานกับนายชัยวัฒน์ คุ้มทองมาก นายก อบต.ศิลา เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพประทังความเดือนร้อนและให้กำลังใจกับผู้ประสบภัย โดยได้รับการสนับสนุน รถน้ำเอนกประสงค์ และเจ้าหน้าที่งานป้องกันฯ จาก อบต.ศิลา ร่วมเข้าช่วยเหลือ ฉีดล้างทำความสะอาดบ้านเรือน ทำให้พี่น้องประชาชน สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติโดยเร็ว จึงต้องขอขอบคุณนายกชัยวัฒน์ และสจ. ศุภวัฒน์ คุ้มทอง ที่เข้าดูแลพื้นที่ให้พี่น้องอย่างรวดเร็ว

”ผมยังได้ลงพื้นที่ บ้านวังขอน บ้านวังม่วง บ้านห้วยก้างปลา ตำบลตาดกลอย เพื่อเยี่ยมและให้กำลังใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม รวมถึงรับฟังปัญหาจากนายกสมยง คำตุ้ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาดกลอย และผู้นำในพื้นที่ ถึงเหตุน้ำท่วมในพื้นที่ และถนนที่พังจากเหตุน้ำท่วมเมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งผมจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงการซ่อมแซ่มถนน เพื่อให้ประขาชนสามารถกลับมาใช้สัญจรได้ตามปกติ ทั้งนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องที่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลอง ได้รับความปลอดภัยทุกคน“นายบุญชัย กล่าว

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 23 กรกฎาคม 2567

รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่สมุทรสาคร รับข้อเสนอ 9 มาตรการ จากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เร่งแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

,

รมว.ธรรมนัส ลงพื้นที่สมุทรสาคร รับข้อเสนอ 9 มาตรการ จากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เร่งแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น.ของวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ โดยมี นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ณมาณิตา กลับบ้านเกาะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชัยวัฒน์ ตุนทกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร และผู้แทนสมาคมการประมงจาก 16 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ เข้าร่วม ณ สมาคมการประมงสมุทรสาคร ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับข้อเสนอจากสมาคมใน 9 มาตรการ ประกอบด้วย 1.กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ,2.ออกประกาศให้มีการผ่อนผันเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพในการใช้จับปลาหมอคางดำได้ในแหล่งน้ำสาธารณะตามความจำเป็น, 3.ให้แต่ละจังหวัดจัดทำแผนที่แหล่งน้ำสาธารณะ รวมถึงพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีปลาหมอคางดำระบาดอยู่ เพื่อใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเป็นระบบ, 4.ให้รับลงทะเบียนเรือประมง ชาวประมง ที่จะมาเข้าร่วมโครงการกำจัดปลาหมอคางดำ,5.รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเร่งด่วนสนับสนุนในการกำจัดปลาหมอคางดำ ให้กับชาวประมง,6.ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจในแต่ละจังหวัด,7.เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แจ้งข้อมูลการระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่เพาะเลี้ยงต่อคณะทำงานฯเพื่อการกำจัดปลาหมอคางดำ,8.จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจรับแจ้งข้อมูลการระบาดของปลาหมอคางดำ เพื่อประสานคณะทำงานฯ ดำเนินการกำจัดโดยเร่งด่วน และ 9.พื้นที่ไหนที่ได้มีการกำจัดปลาหมอคางดำจนเหลือน้อยแล้ว ให้เริ่มปล่อยปลานักล่าตัวใหญ่จำนวนมากพอลงไปใน แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง เพื่อให้ปลานักล่ากินลูกปลาหมอคางดำเพื่อตัดวงจรชีวิตปลาหมอคางดำให้หมดไปโดยเร็วหลังจากนั้น ให้มีการส่งเสริม สนับสนุน และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์วิทยา ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบทั้ง 9 มาตรการ และได้มอบหมายกรมประมงนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยได้มอบหมาย นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ พร้อมนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอเป็นวาระแห่งชาติต่อไป

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมงได้มีการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวฯ เป็นการเร่งด่วนผ่าน 5 มาตรการสำคัญ คือ 1) การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด 2) การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง 3) การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดได้ไปใช้ประโยชน์ 4) การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน และ 5) การสร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ นอกจากนี้ ยังบูรณาการร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินในการนำปลาหมอคางดำที่จับขึ้นมาได้ไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ และประสานความร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทยในการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่ระบาดทุกแห่ง ซึ่งขณะนี้กรมประมงได้มีการรวบรวมแพปลาที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) กับกรมประมง ในพื้นที่ที่มีการระบาด 14 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา รวมทั้งสิ้น 49 จุด สำหรับพิจารณาจัดตั้งเป็นจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ โดยการันตีราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 15 บาท ก่อนรวบรวมปลาหมอคางดำที่รับซื้อไว้ไปให้สถานีพัฒนาที่ดินแต่ละพื้นที่ผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ เพื่อส่งมอบให้การยางแห่งประเทศไทยนำไปแจกจ่ายแก่เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่สวนยางกว่า 200,000 ไร่ โดยจะเริ่มเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 นี้ เป็นต้นไป

ทั้งนี้ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีรายงานการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นพื้นที่แรกและมีการระบาดมากที่สุด จึงได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินการตาม 5 มาตรการสำคัญ จนสามารถกำจัดปลาหมอคางดำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานปลาป่นและผู้ประกอบการเกี่ยวเนื่องได้มากกว่า 500 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดมากที่สุด กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมงจึงได้มีการนำร่องจัดตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำขึ้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ทั้งหมด 5 จุด ประกอบด้วย 1) แพธนูทอง โทร. 0804646479 2) แพนางจารุจันทร์ จารวิไพบูลย์ (แพมิตร) โทร. 0873647298 3) นายชัยพร กรุดทอง (บอย) โทร. 0626585323 4) นายเฉลิมพล เกิดปั้น โทร. 0871714414 และ 5. แพนายวิชาญ เหล็กดี โทร. 0971950564

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และคณะ ยังได้เดินทางไปที่ แพนายวิชาญ เหล็กดี ซึ่งเป็นสถานที่รับซื้อปลาหมอคางดำ นำส่งไปยังโรงงานปลาป่น ศิริแสงอารำพี โดยเข้าลงไปดูวิธีการนำปลาหมอคางดำขึ้นจากเรือ ไปยังแพด้านบนแล้วขึ้นรถไปส่งบริษัทผู้ผลิตปลาป่น อีกทั้งยังได้เยี่ยมชมการสาธิตกระบวนการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำโดยสถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสาคร กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาครได้มีการประสานในการรับซื้อปลาหมอคางดำสำหรับผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพคุณภาพสูง (สูตรไนโตรเจนสูง) จำนวน 4,000 ลิตร โดยได้แจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ กลุ่มหมอดินอาสา กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผัก ฝรั่ง ลำไย มะพร้าวน้ำหอม และพลู คิดเป็นพื้นที่ได้รับประโยชน์รวมกว่า 533 ไร่ อีกด้วย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งเสนอปัญหาดังกล่าวเข้าเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธาน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมต่างๆ ด้านประมง ร่วมเป็นคณะกรรมการในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ นอกจากนี้ยังเตรียมหารือการประกาศเขตภัยพิบัติ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสำหรับผู้ใดที่ฝ่าฝืนทำการเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ จะถูกดำเนินคดีตามมาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ตามประกาศกรมประมง เรื่องประชาสัมพันธ์ห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากนำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ร้อยเอกธรรมนัส ยังกล่าวอีกด้วยว่า สำหรับวันนี้เป็นการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ ตัวแทนของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และตัวแทนชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของปลาหมอคางดำ 16 จังหวัด ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องระดมแนวทางในการแก้ไข โดยเบื้องต้นข้อเรียกร้องระยะเร่งด่วนจากตัวแทนชาวประมงก็มีอยู่ด้วยกัน 9 ข้อ ซึ่งทางเราก็ได้เห็นชอบกับข้อเสนอทั้ง 9 ข้อแล้ว จากนี้กรมประมงก็จะนำไปหารือกับกรมบัญชีกลาง โดยต้องใช้ระยะเวลาให้สั้นที่สุด เพื่อนำไปสู่การออกประกาศให้พี่น้องชาวประมงสามารถปฏิบัติได้

ที่มา: https://sanamkaw.com/archives/78594
วันที่: 23 กรกฎาคม 2567

3 สส.พปชร.ประกาศ รับซื้อ“ปลาหมอคางดำ 10 ตันจากกรมประมง ก่อนนำไปให้สหกรณ์ชุมชนแปรรูปเป็นปลาร้า และแจก ปชช.นำไปรับประทาน

,

3 สส.พปชร.ประกาศ รับซื้อ“ปลาหมอคางดำ 10 ตันจากกรมประมง ก่อนนำไปให้สหกรณ์ชุมชนแปรรูปเป็นปลาร้า และแจก ปชช.นำไปรับประทาน

วันนี้(17 ก.ค.) นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)โพสต์เฟสบุ๊คระบุว่า “สส.ไผ่, สส.ปอย, สส.อามินทร์ รับซื้อปลาหมอคางดำ 10 ตัน เพื่อนำมาแจก“จากการสอบถามนายไผ่ เปิดเผยว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่มีการขยายวงกว้างมากขึ้น สส.ของพรรคพลังประชารัฐ ได้แก่ ตน สส.อามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 และนางสาวพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ เพชรบูรณ์ เขต 1 จึงปรึกษากันถึงแนวทางเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยตนได้ประสานไปยังกรมประมง ขอรับซื้อซากปลาหมอคางดำที่ตายแล้ว จำนวน 10 ตัน เพื่อช่วยกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติและลดการแพร่ระบาด

“ปลาหมอคางดำที่เรารับซื้อมาจะนำไปจัดการเป็น 2 ส่วน 1 จังหวัดเพชรบูรณ์ จะส่งต่อให้กับสหกรณ์ชุมชนเพื่อนำไปแปรรูปเป็นปลาร้า และส่วนที่ 2 ในส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร และนราธิวาส จะแจกจ่ายให้กับชาวบ้านทั่วไป เพื่อนำไปปรุงอาหารรับประทานต่อไป”

นายไผ่ กล่าวต่อว่า การดำเนินการครั้งนี้เพื่อสนับสนุนนโยบายของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอรรถกร ศิริลัทธยากรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ จนทำลาบระบบนิเวศสัตว์น้ำของประเทศไทย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 กรกฎาคม 2567

“สส.วรโชติ”วอน กระทรวงมหาดไทย-ศึกษาธิการ อนุมัติงบซ่อมแซมถนน-โรงเรียน แก้ไขความเดือดร้อนให้ ปชช.ช่วงน้ำป่าไหลหลาก

,

“สส.วรโชติ”วอน กระทรวงมหาดไทย-ศึกษาธิการ อนุมัติงบซ่อมแซมถนน-โรงเรียน แก้ไขความเดือดร้อนให้ ปชช.ช่วงน้ำป่าไหลหลาก

นายวรโชติ สุคนธ์ขจร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรถึงความเดือดร้อนของประชาชน เรื่องแรกคือ เขื่อนป้องกันตลิ่งคลองนาลาว บ้านโรงบ่ม หมู่ 3 ตำบลนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อวานมีการมาชี้แจงในคณะกรรมการ ซึ่งมีการของบประมาณไปแล้วแต่ว่าไม่ได้รับการดูแลตั้งแต่ปี 65 ซึ่งวันนี้จังหวัดเพชรบูรณ์ โดนเตือนเรื่องน้ำป่าไหลหลากอีกแล้ว ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้ บ้านเรือนราษฎรที่อยู่ข้างเคียงต้องหายหมดแน่ ขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดสรรงบประมาณให้กับ เทศบาลเฉลียงทองด้วย

นายวรโชติ กล่าวต่อถึงปัญหาของถนนสายซับพุทรา อำเภอชนแดน เชื่อมเทศบาลบัววัฒนา อำเภอหนองไผ่เชื่อมอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ถนนเส้นนี้เป็นถนนที่ถ่ายโอนมาจากทางหลวงชนบทให้กับการปกครองส่วนท้องถิ่น มีระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร แต่ก็เสียหายมาโดยตลอด และไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยเพื่อมาซ่อมแซมเลย

“วันนี้ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เพราะช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนฝนตกทุกวัน ทำให้ถนนเส้นนี้โดนน้ำพัด พังเสียหาย ทางท้องถิ่นเองก็พยายามจัดสรรงบประมาณเข้าไปเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ผมฝากให้กระทรวงมหาดไทยช่วยดูแลถนนเส้นนี้ให้กับพี่น้องประชาชนด้วย”นายวรโชติ กล่าว

นายวรโชติ กล่าวต่อถึงกรณีน้ำป่าไหลหลากของจังหวัดเพชรบูรณ์ โรงเรียนวังโป่ง อนุบาลวังโป่ง ซึ่งตนเคยหารือไปแล้ว วันนี้โดนน้ำท่วมอีกแล้ว ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เมื่อเช้านี้ทางผู้อำนวยการโรงเรียน และนายกเทศมนตรี ได้ส่งรูปมาให้ดูว่าน้ำท่วม โรงเรียนอีกแล้ว รอความกรุณาจากกระทรวงศึกษาธิการ ช่วยจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนอนุบาลวังโป่งด้วย

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 กรกฎาคม 2567

“สส.คอซีย์”ขอ กรมโยธาฯกระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนงานและงบประมาณแก้ปัญหาแนวตลิ่งคลองตุยงถูกน้ำกัดเซาะ พร้อมพัฒนาแนวคลองระบายน้ำ D2 สี่แยกดอนยางให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว

,

“สส.คอซีย์” ขอ กรมโยธาฯกระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนงานและงบประมาณแก้ปัญหาแนวตลิ่งคลองตุยงถูกน้ำกัดเซาะ พร้อมพัฒนาแนวคลองระบายน้ำ D2 สี่แยกดอนยางให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวหารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อพิจารณาจัดทำแผนงานแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน สืบเนื่องจากตนได้รับข้อร้องเรียนจากนายสะการียา หามะ นายก อบต. ดาโต๊ะ, นายฉัตรชัย เจะปอ นายก อบต. ลิปะสะโง, นายมะดารี เจ๊ะมะ นายก อบต.คอลอตันหยง, นายซานูซี วงศ์ปัตน นายก อบจ.ปุโละปุโย ได้แจ้งสภาพของแนวตลิ่งคลองตุยง ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากตลิ่งถูกน้ำกัดเซาะ พังทลาย ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข จะกระทบต่อพื้นที่การเกษตร และเส้นทางคมนาคมของพี่น้องประชาชน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงสำรวจ พร้อมจัดให้มีแผนงาน และงบประมาณแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน

นายคอซีย์ กล่าวต่อว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อให้วางแนวทางพัฒนาพื้นที่ตำบลบ่อทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ่อทอง โดยมี พ.จ.อ.มาหามุ หวังจิ นายกเทศมนตรีตำบลบ่อทอง ขอให้พิจารณาพัฒนาพื้นที่ในแนวคลองระบายน้ำ D2 สี่แยกดอนยาง ให้เป็นพื้นที่พักผ่อนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว จังหวัดปัตตานี ในแผนงานพัฒนาผังเมืองของกรมโยธาธิการและผังเมือง ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

“เป็นที่ทราบกันดีว่า พื้นที่ดังกล่าว เป็นเหลี่ยมแรกที่จะพัฒนา เพื่อให้เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร และตำบลบ่อทองยังเป็นประตูด่านแรกสู่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปยังปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หากมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้มีความสอดคล้องด้านวัฒนธรรม ด้านการท่องเที่ยว จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอหนองจิกและจังหวัดปัตตานี เป็นอย่างมาก จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาให้มีแผนงานและงบประมาณพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว”

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 กรกฎาคม 2567

“สส.บุญยิ่ง-จตุพร”ร่วมเสวนา “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” มอง ปชช. สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ

,

“สส.บุญยิ่ง-จตุพร”ร่วมเสวนา “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” มอง ปชช. สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ

นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2 และนายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ร่วมเสวนา เรื่อง “พลเมืองยุคใหม่กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบัน” ณ ห้องประชุมสุพจน์ มิเถาวัลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย สส.ทั้งสองท่านได้ร่วมกันเล่าถึงประวัติความเป็นมา บทบาทหน้าที่การทำงานทางการเมือง การทำงานในคณะกรรมาธิการ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารความเดือดร้อนของประชาชนไปสู่การแก้ไข

ด้านนางบุญยิ่ง ได้ร่วมกันอภิปรายถึงแนวคิดการมีส่วนทางการเมืองในมุมมองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนักวิชาการว่า ถึงแม้ประชาชนทั่วไปจะไม่ได้มีบทบาทเป็นนักการเมือง แต่ก็สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้โดยการใช้สิทธิที่ตนพึงได้รับ ประกอบกับติดตามสถานการณ์ทางสังคม หรือปัญหาในพื้นที่ของตนเอง และดำเนินการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป

ส่วนมุมมองของนักวิชาการ นางบุญยิ่ง มองว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พลเมืองสามารถรับข้อมูลข่าวสารแทบจะทันที แต่ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาให้ตกผลึกเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรสร้างความตะหนักรู้ให้กับพลเมืองในการเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้ตั้งคำถามแลกเปลี่ยนในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ปัญหาในพื้นที่ ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ ที่เยาวชนให้ความสนใจ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 17 กรกฎาคม 2567