โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

“ศ.ดร.นฤมล”ย้ำบัตรประชารัฐ700บ.สอดรับเงินเฟ้อ พร้อมเพิ่มสวัสดิการอื่นๆแก้ปัญหายากจนแบบยั่งยืน

“ศ.ดร.นฤมล”ย้ำบัตรประชารัฐ700บ.สอดรับเงินเฟ้อ
พร้อมเพิ่มสวัสดิการอื่นๆแก้ปัญหายากจนแบบยั่งยืน

“ศ.ดร.นฤมล”ย้ำ นโยบายบัตรประชารัฐ 700 บาท/เดือนสอดรับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงหลังฟังเสียงสะท้อนจากการลงพื้นที่ของสส. 200-300 บาทไม่เพียงพอใช้จ่าย ลั่นยังมีสวัสดิการช่วยเหลือ ปชช.อีกเพียบเดินหน้าให้เบ็ดตกปลาแทนให้ปลาแก้ไขปัญหายากจนแบบยั่งยืน แย้มเตรียมประกาศนโยบาย”ที่ดินประชารัฐ”เร็วๆ นี้

วันนี้(19 ม.ค. 66)ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายการเพิ่มวงเงินในบัตรประชารัฐเป็น 700 บาทต่อเดือน ของพรรคพลังประชารัฐว่า ในปี 2566 จะมีประชาชนได้รับสิทธิประมาณ 18 ล้านคน คนละ 700 บาทต่อเดือน จะต้องใช้งบประมาณเดือนละ 1.2 หมื่นล้านบาท หรือ ปีละ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งงบประมาณดังกล่าวมีการคำนวนแหล่งที่มาของงบประมาณมาจากที่ใดแล้ว ในส่วนของบัตรประชารัฐที่เราได้ทำมาตั้งแต่ปี 61 ไม่ใช่มีแค่เงินรายเดือน 200 หรือ 300 บาทเท่านั้น แต่ยังมีสวัสดิการอื่น ๆ อีก อย่างเช่น ค่าแก๊สหุงต้ม ค่าเดินทาง จิปะถะ เราพยายามจัดการสิ่งเหล่านี้ให้สอดคล้อง กับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ บางคนได้ไปก็ไม่ได้ใช้ ค่าเดินทางไม่ได้ใช้ แก๊สหุงต้มไม่ได้ใช้

ศ.ดร.นฤมล กล่าวต่อว่า เมือปี 2561 ตนก็เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ดูแลรับผิดชอบสวัสดิการแห่งรัฐ ในช่วงนั้น เราอยากจะให้พี่น้องประชาชน ผู้ที่มีรายได้น้อย สามารถที่จะมีเงินประทังชีวิตต่อเดือน สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน เขาสามารถไปซื้อ ข้าวสาร น้ำปลา อาหารแห้ง ได้ ในต่างจังหวัดอยู่ได้โดยไม่ลำบาก แต่ปัจจุบันสภาวะ ทางเศษฐกิจทั่วโลกเผชิญกับสภาวะเงินเฟ้อ ไม่ต่างกับประเทศไทย สินค้ามีราคาที่สูงขึ้นมาก ดั้งนั้นเงิน 200-300 บาทต่อเดือน ก็ไม่เพียงพอ เสียงสะท้อนก็ออกมาจากผู้สมัคร ส.ส.ของพรรค ที่ลงพื้นที่ไปพบปะกับประชาชนต่างก็บอกเงินไม่พอแล้ว

“พรรคพลังประชารัฐให้ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ต้องปรับให้สอดคล้องกับสภาวะกับทางเศรษกิจและปัจจุบัน ให้สู่กับสภาวะเงินเฟ้อได้ และจริงๆในนโยบาย ทั้งหมดไม่ใช่มี แค่ 700 บาท เรายังคงมุ่งหน้าทำการแก้ปัญหา ความยากจนอย่างยั่งยืน หมายความว่าต้องมีการฝึกอบรมให้ 700 บาทเป็นการให้ปลาไปเฉยๆ จะต้องมีการ ให้เบ็ดเขาด้วย แล้วก็สอนวิธีตกปลา”ศ.ดร.นฤมล กล่าว

สำหรับประเทศไทย ถ้าเราจะพึ่งเพียงงบประมาณอย่างเดียว ประเทศไทยก็คงจะเดิน ไปข้างหน้าได้อย่างช้า เราจึงต้องคิดออกนอกกกรอบ งบประมาณรัฐบาลด้วย ในหลาย ๆ ประเทศเขาใช้ศักยภาพตลาดทุน คือ กองทุนเพื่อสังคม ที่ระบุเลยว่า ไปช่วยกลุ่มไหนแล้วก็ระดมทุน เช่น กองทุนพัฒนาชีวิตผู้พิการ กองทุนที่จะช่วยแม่เลี้ยงเดียว กองทุนผู้ที่ติดคุกมีงานทำ กองทุนที่จะช่วยเกษตรไทย เพื่อเป็นกองทุนลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในเศรษกิจระดมทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

“สิ่งที่ภาครัฐทำได้ ก็คือ การจัดโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสม เช่น ถ้ามีการซื้อหน่วยลงทุนก็มาหักภาษีได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าจะไปช่วยเกษตรกร บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นมา ก็สามารถที่จะเข้าไปดูแลเกษตรกร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ว่าเขาปลูกพืชอะไร เขาใช้ต้นทุนเท่าไร คุณต้องไปทำอย่างไร ให้เขาลดต้นทุน สินค้าที่ได้มา ไปที่ไหน ตลาดที่เรารับคืออะไร แปรรูปแล้วราคาเท่าไร พอเป็นรูปธรรมอย่างนี้ ตัวช่วยต่อไปที่ต้องทำ คือ เชื่อมกับภาคเอกชน เพื่อที่จะหาแหล่งตลาด ทำให้เกิดรายได้กับเกษตรกร ซึ่งรายได้นี้จะต้องคืนผลตอบแทนกลับมาให้ นักลงทุนที่เป็นเจ้าของเงินที่ซื้อหน่วยลงทุน”ศ.ดร.นฤมล กล่าว

ทั้งนี้ ศ.ดร.นฤมล กล่าวด้วยว่า จากนี้พรรคพลังประชารัฐจะมีการแถลงนโยบายออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งคาดว่านโยบายต่อไปที่น่าจะมีการประกาศก็คือ นโยบายที่ดินประชารัฐ

ที่มา: ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
วันที่: 18 มกราคม 2566

" ,