“พล.อ.ประวิตร” เดินหน้าปลูกป่าชายเลน 3 แสนไร่ ดึงชุมชน 23 จังหวัด ขับเคลื่อนหนุนคาร์บอนเครดิต
วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ครั้งที่ 2/65 ได้มีการเร่งรัดขับเคลื่อน ยกระดับการแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยพิจารณาเห็นชอบการออกกฎกระทรวง กำหนดพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ในพื้นที่ จ. ตรัง และ จ.พังงา มีสาระสำคัญ เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์และกำหนดมาตรการคุ้มครอง พันธุ์ไม้ สัตว์ป่า พันธ์พืชหายาก โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาชายฝั่งทะเล รวมทั้งเห็นชอบการจัดทำแผนที่
ข้อมูลวิชาการของระบบกลุ่มหาดประเทศไทย ปี 65 – 67 นำร่องรวม 11 กลุ่มหาด เพื่อประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
ทั้งนี้ได้ขอให้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้ความสำคัญ กับการสร้างความเข้าใจและดึงชุมชนชายฝั่งทะเล เข้ามามีส่วนร่วมปลูกป่าชายเลนร่วมกันในทุกขั้นตอน และต้องให้ชุมชนได้รับประโยชน์ไปพร้อมกันอย่างแท้จริง ทั้งการสร้างงาน สร้างรายได้และการจ้างงานในพื้นที่ โดยเฉพาะให้ดึงสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ร่วมให้ความรู้กับเด็กและเยาวชน รวมท้ังชุมชนไปพร้อมกัน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่แบบมีส่วนร่วมที่มุ่งความยั่งยืน
พล.อ.ประวิตร’ ยังได้ย้ำถึงการใช้ประโยชน์ทางทะเล ก็ต้องมีการคืนประโยชน์ให้ทะเลไปพร้อมกัน ซึ่งต้องเร่งอนุรักษ์และฟื้นฟูคู่ขนานกัน โดยยังมีงานสำคัญ ที่ต้องช่วยกันเร่งรัดดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จในหลายเรื่อง โดยเฉพาะ การประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง การแก้ปัญหาขยะทะเลในฐานะผู้นำกลุ่มอาเซียน และการขับเคลื่อนการดำเนินการภายใต้ทศวรรษแห่งมหาสมุทร ที่ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกเป็นที่ตั้ง สำนักงานประสานทศวรรษแห่งมหาสมุทร ซึ่งขอให้ ทส.เร่งรัดผลักดันให้มีความชัดเจน และเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบถึงความคืบหน้าในโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ในประเด็น การแบ่งปันผลประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ระหว่าง ผู้พัฒนาโครงการ และ ทช. ในสัดส่วน 90 : 10 โดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จะแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครึ่งหนึ่ง เพื่อนำไปให้ชุมชนใช้ในกิจกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ โดยมีระยะเวลา 10 ปี ( 66 – 74 ) ในพื้นที่ 23 จว. เนื้อที่ 300,000 ไร่ มุ่งเป้า 6 พื้นที่ โดยเป็นพื้นที่พร้อมปลูกที่ผ่าน การดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ทำนากุ้ง ทำสวนปาล์ม พื้นที่เลนงอก พื้นที่ปรับปรุงสภาพป่าชายเลน รวมท้ังพื้นที่ป่าที่ชุมชนร่วมดูแล
ที่มา : ทีมประชาสัมพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ
เมื่อวันที่ : 4 สิงหาคม 2565