อดีต “คลัง” ค้านกู้เงิน 5 แสนลบ. เพิ่มภาระ จับตา 5 ประเด็นแก้เศรษฐกิจ
ก่อนที่พรรคพลังประชารัฐจะมีแคนดินเดตนายกรัฐมนตรีชื่อ “พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ” หรือ “ลุงป้อม” และอยู่ในซีกพรรคฝ่ายค้าน (?) อย่างทุกวันนี้ ในอดีตช่วงเลือกตั้ง 2562 พรรคพลังประชารัฐเคยมีแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีชื่อ “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ที่หาเสียงด้วยสโลแกนยอดฮิต “เลือกความสงบจบที่ลุงตู่”
หลังการเลือกตั้งจบลง ประชาชนได้ความสงบหรือไม่ก็ตามแต่จะประเมินกัน แต่ที่แน่ๆ พรรคพลังประชารัฐสามารถรวมเสียงข้างมากในสภาฯ ทั้ง สส.-สว. โหวต “ลุงตู่” กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ทั้งผลการเลือกตั้ง กฎกติกาที่ใช้ รวมถึงสถานการณ์ที่ไม่ชอบมาพากลต่างๆ ทำให้คนในสังคมต่างตั้งคำถามว่า การเลือกตั้งครั้งแรกหลังยุคเผด็จการทหาร คสช. นี้บริสุทธิ์ยุติธรรมแค่ไหน? ว่าแล้วก็ลองย้อนไปดูบริบทคร่าวๆ กัน
คสช. เตรียมมาตรการรักษาอำนาจ?
ก่อนเลือกตั้ง คสช. ภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ ดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้ เช่น การนำระบบการเลือกตั้งแบบใหม่มาใช้เพื่อลดจำนวนที่นั่งในสภาฯ ของพรรคการเมืองที่ทักษิณ ชินวัตร สามารถควบคุมได้ การแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดใหม่ การแจกจ่ายทรัพยากรของรัฐให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยากจนหลายล้านคนผ่านโครงการต่างๆ ฯลฯ
ตั้งพรรคการเมืองเฉพาะกิจ?
กลยุทธ์พื้นฐานที่ คสช. ใช้ก็เฉกเช่นเดียวกับคณะรัฐประหารในอดีตที่ต้องการรักษาอำนาจผ่านการเลือกตั้ง โดยอาศัย “เจ้าพ่อ” ผู้ทรงอิทธิพลในท้องถิ่น และนักการเมืองที่มีชื่อเสียง (หลายคนเคยอยู่ในเครือข่ายทักษิณ) เพื่อจัดตั้งพรรคเฉพาะกิจ (ขณะนั้น) ในนาม “พรรคพลังประชารัฐ” นอกจากนี้ คสช. ยังแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อการรักษาอำนาจของตน อย่างกรณีที่พูดถึงกันมากคือ ออกแบบบัตรเลือกตั้งให้เกิดความสับสน
สว. 250 คน ที่ตั้งรอไว้แล้ว?
กฎเกณฑ์การเลือกตั้งใหม่ที่ คสช. นำมาใช้มีความซับซ้อนอย่างมาก ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่เข้าใจระบบการลงคะแนนอย่างถ่องแท้ ซึ่งระบบแบบใหม่นี้ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้พรรคเพื่อไทยสามารถชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงเลือก สส. จำนวน 500 คน ขณะที่ คสช. แต่งตั้ง สว. ไว้แล้ว 250 คน แถมนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจาก สส. โดยจะมาจากการเลือกร่วมกันของ สส. และ สว.
กกต. ขาดความโปร่งใส?
ในบรรดาความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งรอบนี้ กกต. ในฐานะหน่วยงานที่จัดการเลือกตั้งถูกตั้งคำถามจากหลายกรณี อย่างเช่นตัวเลขผลการเลือกตั้งคลาดเคลื่อนในหลายเขต แม้จะมีข้อเรียกร้องอย่างหนักจากพรรคการเมืองและกลุ่มภาคประชาสังคม แต่ กกต. กลับปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลการเลือกตั้งในแต่ละหน่วยเลือกตั้งอย่างละเอียด นำไปสู่ความไม่พอใจอย่างกว้างขวางต่อความไร้ประสิทธิภาพและขาดความโปร่งใส จนมีการรณณรงค์ออนไลน์เพื่อถอดถอน กกต. ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย
“สองลุง” ครองอำนาจต่อได้ แม้ความชอบธรรมเปราะบาง?
ต่อให้ผลการเลือกตั้งจะเต็มไปด้วยคำถาม แต่ด้วยการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจาก สว. ทำให้พรรคพลังประชารัฐสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองขนาดเล็กและขนาดกลางถึง 20 พรรค พลเอก ประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เช่นเดียวกับพลเอก ประวิตรที่ได้นั่งเก้าอี้รองนายกฯ ต่อ
แม้จะเป็นรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ (อันเป็นผลพวงจากรัฐธรรมนูญ 2560) ประสบกับวิกฤตระดับโลกอย่างโควิด-19 ที่พ่วงมาด้วยความยากลำบากทางเศรษฐกิจ รวมถึงเผชิญกับการประท้วงจากกลุ่มเยาวชนครั้งใหญ่ที่สุดนับแต่ทศวรรษ 2510 แต่รัฐบาลนี้ก็ยังดำรงอยู่ท่ามกลางความไม่นิยมอย่างกว้างขวางนี้ได้ครบ 4 ปี
จนกระทั่งถึง “ทางแยกใหม่ทางการเมือง” ในการเลือกตั้ง 2566 พรรคพลังประชารัฐเหลือเพียง “หนึ่งลุง” อีก “หนึ่งลุง” แยกพรรค ซึ่งผลการเลือกตั้งครั้งนี้ได้เปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองไทยไปเป็นอีกแบบ พรรคพลังประชารัฐกลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน อย่างน้อยก็จนถึงตอนนี้ …
ประชาธิปไตยไทยที่ถดถอย: สมรภูมิการเมืองไทยสู่ความขัดแย้งใหม่ที่ยังไม่จบ
ผู้เขียน: ประจักษ์ ก้องกีรติ | ผู้แปล: ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
บรรณาธิการ: กษิดิศ อนันทนาธร
ทดลองอ่านได้ที่: https://bit.ly/4idRYQ2
#ประชาธิปไตยไทยที่ถดถอย #ประจักษ์_ก้องกีรติ #การเมืองไทย #คสช #พลังประชารัฐ
#สำนักพิมพ์มติชน #matichonbook
_____________________
ติดตามทุกช่องทางของสำนักพิมพ์มติชนที่
Line : @matichonbook
Youtube : @MatichonBooks
Tiktok : @matichonbook
Twitter : @matichonbooks
Instagram : matichonbook
ที่มา: https://www.facebook.com/matichonbook/
วันที่: 28 เมษายน 2568