โลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ ทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง สานพลังประชาราษฎร์ ร่วมสร้างชาติให้ยั่งยืน

เกี่ยวกับพรรค OLD

section-d183856

เกี่ยวกับพรรค

พรรคพลังประชารัฐ

section-7fdbd91
https://www.pprp.or.th/wp-content/uploads/2021/11/พปชร-1-819x465-1-819x465-1-819x465.jpg
section-7b45e62

ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 ภายในพรรคประกอบด้วยอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลประยุทธ์ 1 รวมทั้งมีการรับนักการเมืองหลายกลุ่มเข้าสังกัด ทั้งอดีตสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อดีตนักการเมืองท้องถิ่น อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย, พรรคเพื่อไทย และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ รวมไปถึงอดีตแกนนำ กปปส. ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคเสนอ
ชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

โลโก้พรรคเป็นสีแดง สีขาว และสีน้ำเงินครามของกรอบหกเหลี่ยม ความหมายว่าเป็นการความสามัคคีของทุกคนในชาติให้เป็นหนึ่งเดียวปราศจากความขัดแย้ง เป็นความร่วมมือร่วมใจประชาชนร่วมพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ามั่นคงและยั่งยืน พร้อมเปิดตัวหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 25 คน

section-d2a773f

นาย ชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน้ำคลองลัดมะยม และพันเอก สุชาติ จันทรโชติกุล อดีต ส.ส. สงขลา พรรคความหวังใหม่ และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นผู้จดจองชื่อพรรคพลังประชารัฐต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง

เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 ชื่อพรรค "พลังประชารัฐ" เป็นชื่อนโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่สำคัญของรัฐบาลประยุทธ์ พรรคได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม "สามมิตร" ซึ่งมีแกนนำเป็นอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ได้แก่ สมศักดิ์ เทพสุทิน, สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอยู่

กลุ่มดังกล่าวพยายามดึงตัวสมาชิกรัฐสภาทั้งจากพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ขณะที่ยังมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น

พรรคจัดประชุมสามัญใหญ่ของพรรคเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 เพื่อเลือก หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกจำนวน 25 คนปรากฏว่า
อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลประยุทธ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลประยุทธ์ 1 เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายอุตตมพร้อมคณะได้เดินทางมายัง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอย่างเป็นทางการ

ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีบุคคลกว่า 150 คนเข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ โดยมีทั้งอดีตสมาชิกรัฐสภา อดีตรัฐมนตรีและบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งในจำนวนนี้มีสมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย และสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา นักการเมืองท้องถิ่น รวมถึงอดีตแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 4 คนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลคุณประยุทธ์ ลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาหาเสียงเต็มเวลา หลังถูกวิจารณ์มาหลายเดือน

รายชื่อหัวหน้าพรรค

ลำดับชื่อเริ่มวาระสิ้นสุดวาระ
1นายอุตตม
สาวนายน
29 กันยายน พ.ศ. 256127 มิถุนายน พ.ศ. 2563
2พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ27 มิถุนายน พ.ศ. 2563ปัจจุบัน

รายชื่อเลขาธิการพรรค

ลำดับชื่อเริ่มวาระสิ้นสุดวาระ
1นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์29 กันยายน พ.ศ. 256127 มิถุนายน พ.ศ. 2563
2นายอนุชา
นาคาศัย
27 มิถุนายน พ.ศ. 256318 มิถุนายน พ.ศ. 2564
3ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า18 มิถุนายน พ.ศ. 2564ปัจจุบัน

ข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ พ.ศ. 2561

โดยที่ประชุมผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 ได้กำหนดข้อบังคับพรรคการเมืองเพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ดังนี้

1. ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ พ.ศ. 2561 ในข้อบังคับฉบับนี้
พรรคการเมือง หมายความว่า พรรคพลังประชารัฐ
สมาชิก หมายความว่า สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ
นายทะเบียนสมาชิก หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ
ข้อบังคับ หมายความว่า ข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ
2. ข้อบังคับพรรคการเมืองนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นต้นไป
3. พรรคการเมืองตามข้อบังคับนี้เรียกว่า "พรรคพลังประชารัฐ" ชื่อย่อ พปชร. เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า PALANG PRACHARATH PARTY ชื่อย่อ PPRP
4. เครื่องหมายพรรคการเมืองและความหมาย
4.1 พรรคพลังประชารัฐ ใช้เครื่องหมายมีลักษณะดังนี้ คำว่า "พรรค" อยู่ด้านบนกึ่งกลางด้านในของโลโก้ เหนือตัวอักษร "ปร" ของคำว่า "พลังประชารัฐ" ด้านล่างของคำว่า "พลังประชารัฐ"อยู่บนพื้นสี มีแถบหกเหลี่ยมสามสีเป็น สีแดง ขาว น้ำเงินคราม ตามรูป

4.2 โดยมีความหมายดังนี้ พลังแห่งความสามัคคี ความร่วมมือ ร่วมใจ ของประชาชน ร่วมพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ามั่นคงและยั่งยืน แถบสีแดง สีขาวและสีน้ำเงินคราม ของกรอบหกเหลี่ยม หมายความว่า เป็นการรวมพลังความสามัคคีของทุกคนในชาติให้เป็นหนึ่งเดียวปราศจากความขัดแย้ง
5. สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ เลขที่130/1 ซอยรัชดาภิเษก ๕๔ ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10900

วิธีการ/นโยบายอันนำไปสู่เป้าหมายของพรรค
มีดังต่อไปนี้

1. ส่งเสริมการเข้าถึงและการมีส่าวนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholdar) ในทุกระดับ ทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกียวข้องกับนโยบายต่าง ๆ
2. กระจายอำนาจการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมให้ชุมชนในระดับตำบล เป็นผู้กำหนดแนวทางในการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง การใช้จ่ายงบประมาณ การใช้การรักษาทรัพยากรในชุมชน
3. ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรมท้องถิ่น ร่วมกับสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านในการสร้างผลผลิต ด้วยนวัตกรรม โดยภาครัฐ หรือองค์กรปกรองท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุน
4. การจัดสรรทรัพยากร/งบประมาณส่วนกลางไปถึงระดับท้องถิ่น ในการกำหนดค่า มาตรฐานของชุมชน และจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมตามสัดส่วนของมาตรฐานชุมชน โดยกำหนดจากมาตรฐานสาธารณูปโภคพื้นฐาน และความสามารถในการแข่งขันของชุมชนเป็นเกณฑ์
5. ประกันรายได้ของประชาชน มากกว่า 450,000 บาท/ปี ในปี 2580 (ธนาคารโลกกำหนดประเทศพัฒนาแล้วมีรายได้มากกว่า 12,215 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี)

  • ประกันราคาสินค้าเกษตร โดยการใช้นวัตกรรมการเกษตรในการพัฒนา
  • ประกันรายได้แรงงานมีฝีมือวันละ 1,000 บาท
  • ประกันเงินเดือนขันต่ำราชการ 30,000 บาท

6. ส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาของเยาวชน การศึกษาทางเลือกแบบมีคุณวุฒิโดยรัฐสนับสนุนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่การศึกษาภาคบังคับจนถึงระดับอุดมศึกษา
7. เพิ่มรายได้ชุมชนจากอุตสาหกรรมการเกษตร แทนที่การเกษตรแบบจำหน่วยวัตถุดิบแบบดั้งเดิม โดยใช้นวัดกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ
8. การแสวงหาตลาดการค้าในต่างประเทศเพื่อรองรับผลผลิตในประเทศ รวมทั้ง การผลิตสินค้าตามความต้องการในประเทศโดยใช้วัตถุดิบ/ทรัพยากรในประเทศให้มากที่สุด
9. สร้างสังคมคุณธรรมโดยใช้องค์การศาสนาในชุมชนเป็นศูนย์กลางและสร้างวัฒนธรรมการร่วมกันพัฒนาชุมชน พัฒนาคุณภาพของประชาชนผ่านทางองค์กรศาสนา

เป้าหมายของพรรคพลังประชารัฐ มีดังต่อไปนี้

1. ประเทศชาติมั่นคง

  • ปลอดภัย และการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  • ในชีวิตมีงานและรายได้ที่มั่นคง มีที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
  • มั่นคงในอาหาร หลังงาน และน้ำ

2. ประชาชนมีความสุข
3. เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. สังคมเป็นธรรม
5. ฐานทรัพยกรธรรมชาติยั่งยืน

section-03e5c1b

เหตุการณ์ทางการเมือง

เลือกตั้ง 2562

พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กำลังเดินหน้าเตรียมไพร่พลสำหรับศึกเลือกตั้งที่จะก่อเกิดขึ้นในปี 2562

ขึ้นเวทีปราศรัย

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ขึ้นปราศรัยครั้งแรก ช่วย นายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมเขต 3 จ.นครศรีธรรมราช

ประชุมใหญ่สามัญ
พลังประชารัฐ

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ซึ่งจะมีคณะกรรมการบริหารพรรค สมาชิกพรรค เข้าร่วมกันพร้อมเพรียง

แต่งตั้งคณะกรรมการพรรค

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรค เซ็นตั้งคณะกรรมการกฎหมายและข้อบังคับพรรค
พลังประชารัฐ เพื่อให้การดำเนินงานของพรรคพลังประชารัฐในด้านกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบังคับของ พรรคพลังประชารัฐ เป็นไปด้วยความถูกต้อง มีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์

section-0e26997

วิสัยทัศน์

เป็นพรรคการเมืองที่นำพาประเทศไทยให้มี
"ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง"

section-6f383e9

พันธกิจ

  • เป็นพรรคการเมืองเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
  • ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2580
  • ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคและเวที่โลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี

อุดมการณ์

สำหรับอุดมการณ์พรรค
พลังประชารัฐ 7 ข้อ ประกอบด้วย

1. ยึดมั่นการปกครองระบบประชาธิปไตย : อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2. พรรคเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน : บ่มเพาะพลเมืองที่ตื่นรู้มุ่งเน้นการพัฒนาประชาธิปไตยวิถีไทย

3. น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : รวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง สร้างความเข้มแข็งจากฐานรากอย่างยั่งยืน ชูประเทศสู่ประชาคมโลกอย่างสมศักดิ์ศรี

4. ก้าวข้ามความขัดแย้ง : ฟื้นความสมานฉันท์

5. สร้างสังคมที่เป็นธรรม : ยึดนิติรัฐ นิติธรรม

6. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสที่เป็นจริง : ขจัดความยากจน สร้างความมั่นคงในสังคม

7. สร้างสังคมที่เกื้อกูลแบ่งปัน : เติมเต็มศักยภาพ และโอกาสของผู้คน เตรียมความพร้อมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21

section-3a36045

คำประกาศอุดมการณ์ทางการเมือง

3 พันธกิจ 21 นโยบาย
"พลังประชารัฐ"

"สวัสดิการประชารัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ"

นโยบายนี้ประกอบด้วยการทำงานเพื่อพี่น้องคนไทย 7 เรื่อง ได้แก่

1. บัตรประชารัฐ เป็นบัตรต่อยอดมาจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีอยู่เป็นจํานวนมาก
2. สวัสดิการรายกลุ่ม สวัสดิการของแต่ละกลุ่มมีความต้องการหรือความจําเป็นพื้นฐานที่แตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มผู้สูงวัยกลุ่มผู้พิการ กลุ่มสตรี กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มอาชีพรับจ้าง
3. สวัสดิการคนเมือง เป็นอีกความต้องการขั้นพื้นฐานเพราะคนเมืองผู้มีรายได้น้อยต้องเผชิญกับการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
4. หมดหนี้มีเงินออม ช่วยลดภาระหนี้ให้กับ 6 กลุ่มสําคัญ ได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ทราชการ SMEs ครู และนักศึกษา
5.โครงการบ้านล้านหลัง ให้ประชาชนมีบ้านของตัวเอง จึงมีโครงการบ้านล้านหลังประชารัฐสานต่อสิ่งที่รัฐบาลปัจจุบันได้ดําเนินการไว้
6. บ้านสุขใจวัยเกษียณ ประเทศไทยกําลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย จึงต้องทําให้คนสูงวัย ด้วยโครงการบ้านสุขใจวัยเกษียณ
7. สิทธิที่ดินทํากิน เมื่อมีบ้านแล้ว ก็ต้องมีที่ดินทํากิน โดยเฉพาะพ่อแม่พี่น้องเกษตรกร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

"เศรษฐกิจประชารัฐ สร้างความสามารถและโอกาสที่
เท่าเทียม"

นโยบายนี้ประกอบด้วยการทำงานเพื่อพี่น้องคนไทย 7 เรื่อง ได้แก่

1.ยกระดับความสามารถผู้ผลิต นโยบายสร้าง5ล้าน Smart SMEs 1 ล้าน Smart Farmers 1 ล้าน Startups 1 ล้าน Makers และ 1 ล้านค้าปลีกชุมชน
2.การสู่เกษตรประชารัฐ 4.0 ปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ด้วยนโยบาย “3 เพิ่ม 3 ลด” นั่นคือ “เพิ่มรายได้ เพิ่มนวัตกรรม เพิ่มทางเลือก” และ “ลดภาระหนี้ ลดความเสี่ยง ลดต้นทุน”
3.กระจายรายได้ กระจายโอกาสด้วยการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ สร้างเส้นทางเชื่อมโยงชุมชนสู่ชุมชน
4.ชูเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจแบ่งปัน เพราะจุดแข็งของประเทศไทยประการหนึ่งคือควมคิดสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมของความเกื้อกูลแบ่งปัน
5.สร้างเศรษฐกิจชีวภาพ อุตสาหกรรมหมุนเวียน นวัตกรรมสีเขียว ซึ่งเป็นเศรษฐกิจสําคัญที่ประเทศไทยมีโอกาสแห่งทันในเวทีโลกและตอบโจทย์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ครอบคลุมถึงการเกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาพ พลังงานและการท่องเที่ยว
6.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งอนาคต การที่จะปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ จําเป็นต้องมีการลงทุนขนาดใหญ่ เน้นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล โดยเฉพาะ 5G
7.ลดอุปสรรค เพิ่มโอกาสในการดําเนินธุรกิจ เน้นการปฏิรูประบบราชการ ทําให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

"สังคมประชารัฐ สงบสุข
เข้มแข็ง แบ่งปัน"

นโยบายนี้ประกอบด้วยการทำงานเพื่อพี่น้องคนไทย 7 เรื่อง ได้แก่

1.การศึกษา 4.0 ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคน เพื่อเตรียมความพร้อมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ต้องทําให้ทุกคน มีโอกาส มีอนาคตตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงคนทํางาน
2.กระจายศูนย์กลางความเจริญสู่ภูมิภาค ปัญหาความเหลื่อมล้ำส่วนหนึ่งมาจากการกระจุกตัวพองความเจริญอยู่ที่กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐจึงมีนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ดําเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น EEC จะต้องมีการต่อยอด รวมทั้งภูมิกาคอื่นๆ เช่น อีสาน 4.0 ล้านนา 4.0 และด้านขวา 4.0 โดยให้แต่ละภูมิภาคเพื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของ CLMV และเป็นศูนย์กลางทองอาเซียนในอนาคต
3.สร้างเมืองน่าอยู่ใกล้บ้าน มีงานทํา ปัจจุบันปัญหาความเหลื่อมล้ำ เกิดจากการกระจุกตัวของเมืองเพียงไม่กี่เมืองจึงจําเป็นจะต้องสร้างเมืองให้น่าอยู่ และทําให้เมืองเป็นแหล่งสร้างงาน สร้างอาชีพด้วยแนวคิด “30เมืองน่าอยู่” ซึ่งจะทําให้เกิดการลงทุนครั้งใหญ่ โดยประชาชนมีส่วนร่วมใน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสร้างที่อยู่อาศัย พัฒนาย่านธุรกิจย่านนวัตกรรม เพื่อจะได้ไม่ต้องมาพึ่งพิงเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ อีกต่อไป
4.ชุมชนประชารัฐ ร่วมพัฒนาบ้านเกิด “ชุมชนเข้มแข็ง” เป็นหนึ่งในนโยบายสําคัญของพรรคพลังประชารัฐ เพื่อให้ทุกคนอยากกลับไปพัฒนาบ้านเกิดโดยจะมีกองทุนพัฒนาชุมชนประชารัฐจะมีแหล่งน้ำชุมชน โครงการป่าไม้มีค่า และสร้างวิสาหกิจชุมชน
5.เมืองอัจฉริยะสีเขียว เพื่อความสุขของทุกคน เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสําคัญ คนจะต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อม เราจะปรับเป็นเมืองอัจฉริยะสีเขียวเพื่อความสุขของทุกคน โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคน เพื่อให้คนอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างมีความสุข
6.สังคมประชารัฐสีขาว สังคมจะสงบสุข เข้มแข็ง แบ่งปันได้ ต้องเป็นประชารัฐสีขาว ที่ “ปลอดภัย ปลอดโรค ปลอดยา”
7.Bangkok 5.0 สร้าง9ย่านนวัตกรรม พัฒนาย่านการค้า คืนคลองสวยน้ําใสให้คนกรุง สร้างเครือข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์ผ่านเทคโนโลยี 5 จี